[Webinar] Leadership in an agile world, what does that mean? By Arie Van Bennekum

Suthasinee Lieopairoj
Siam Chamnankit Family
2 min readOct 11, 2021

--

SPARK EVENTS BY WEMANITY

เมื่อวันพุธที่ผ่านมา พอดีได้เข้าฟัง Webinar หัวข้อ Leadership in agile world, what does that mean? โดยคุณ Arie Van Bennekum เลยมาเขียน Blog แปะ VDO ไว้เผื่อใครอยากลองเข้าฟังแต่ยังไม่ทราบแหล่ะค่ะ

ส่วนด้านล่างเป็นเนื้อหาสรุปที่แนนได้จากที่ฟังนะคะ ถ้าฟังเองแล้วข้ามไปได้เลยค่ะ :D

สรุปเนื้อหา

  • เราแอจไจล์ทำไม? (Why are we doing agile?) มี 2 เหตุผลหลัก คือ

1. หลีกเลี่ยงความล่าช้า (AVOIDING DELAY): ยิ่งการแข่งขันทางธุรกิจสูงขึ้น ความเร็วในการออกตัวสินค้าหรือส่งคุณค่าให้กับตลาดยิ่งมีความสำคัญ​ แอจไจล์ช่วยเปลี่ยนวิธีการทำงานเพื่อให้ทีมทำงานมั่นใจว่าจะสามารถส่งมอบผลิตภัณฑ์ได้ตามแผนที่วางไว้เมื่อจบ Sprint การที่ส่งมอบเอาต์พุตได้เร็วจะนำไปสู่การได้รับคำติชมและข้อเสนอแนะ (feedback) ที่รวดเร็ว และการปรับปรุงพัฒนาที่รวดเร็วตามไปด้วย

2. เพื่อเปลี่ยนวิธีการทำงานจากโมเดล Waterfall มาเป็นการทำงานแบบแอจไจล์ (CHANGING THE WAY OF WORK) : ปัญหาของการทำงานแบบ Waterfall model คือ

2.1 เสียเวลา (Wasting time) เพราะเป็นการสื่อสารกันระหว่างแผนก หรืออาจเรียกว่าการสื่อสารระหว่าง Silo ซึ่งเป็นการสื่อสารกันทางอ้อม ซึ่งการสื่อสารแบบนี้อาจก่อให้เกิดข้อผิดพลาด (error) และความล่าช้า (delay)

2.2 เกิดการสมมติและตีความ (Interpretation and assumption needed) เนื่องจากเป็นการสื่อสารที่ต้องส่งผ่านตัวกลาง เช่น ผ่านเอกสารหรือผ่านบุคคลอื่น ทำให้อาจต้องมีการแปลความและทึกทักเอาว่าผู้ส่งสารต้องการอะไรและก่อให้เกิดปัญหาข้อ 2.3

2.3 ประสิทธิภาพการทำงานลดลง (Cause of low efficiency)

แต่ในการแก้ปัญหาการสื่อสารทางอ้อม (Indirect communication) ก็คือปรับให้ทุกคนสื่อสารกันได้โดยตรง โดยการจับมานั่งบนโต๊ะเดียวกันและสื่อสารกันแบบต่อหน้า (Face-to-face communication) แต่การที่จะปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานให้เป็นแบบนี้ได้จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุน (facilitate) จากองค์กรหรือผู้นำ (leaders)

  • เราต้องการอะไรจากทีมผู้นำ (What do we need from agile leadership team?)

สิ่งที่ผู้นำควรทำมี 3 ข้อหลัก ๆ คือ

1. เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ดี (To be role model in agile working) : การเปลี่ยนวิธีการทำงานในองค์กรเป็นเรื่องที่ต้องใช้พลังงานสูง การได้ความเข้าใจจากผู้นำ และต้นแบบการเปลี่ยนแปลงที่ดีจึงมีความสำคัญมาก

2. อำนวยความสะดวกและให้อำนาจกับทีมเพื่อให้กล้าที่จะเปลี่ยนแปลง (Facilitate & empower the team to change the way of work) : ซึ่งการอำนวยความสะดวกอาจจะขึ้นอยู่กับบริบทและสถานการณ์ของแต่ละองค์กร เช่น ในบางจังหวะทีมอาจต้องการการเทรนด์ (training) หรือบางทีอาจต้องการคำแนะนำหรือข้อเสนอแนะจากผู้นำ (reflect) การสร้างระบบนิเวศในการทำงาน (ecosystem creation) การให้ความรู้ (knowledge) และให้อำนาจ (authority) กับทีม (โดยเฉพาะทีมแรกที่นำการเปลี่ยนแปลง) จึงเป็นเรื่องจำเป็นมาก

3. รักษาการเปลี่ยนแปลงนั้นให้คงอยู่ (Sustain that change) : ความเสี่ยงที่ใหญ่ที่สุดของ Agile transformation คือ การที่กลับมาทำงานในรูปแบบเดิมหรือติดกับนิสัยที่เราเคยทำเคยเป็น (innovating backward) หลังจากที่เปลี่ยนได้ซักพัก เนื่องจากนิสัยหรือพฤติกรรมของคนเราเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงถาวรได้ยาก ดังนั้นการตระหนักถึงวิธีการรักษาการเปลี่ยนแปลงให้คงอยู่ตลอดไปนั้นจึงยากกว่าการปรับเปลี่ยน

  • ความสำเร็จในการทำงานแบบแอจไจล์สามารถเป็นได้ใน 2 รูปแบบ คือ

1.ในเชิงคุณภาพ (Quality)

2. ในเชิงของระเบียบวินัย (Discipline) — แฝงอยู่ในรูปของพิธีกรรม (Rituals) ต่าง ๆ

  • การเรียนรู้เรื่องที่ต้องทำไปตลอดช่วงชีวิต (ไม่ใช่ปีละ 2 ครั้ง) และควรจะเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวัน (Learning is a life-time experience and should be part of daily process)
  • แอจไจล์ไม่ใช่ “สถานะ” แต่เป็นเหมือนน้ำที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ในการที่จะรักษามันไว้จำเป็นต้องใช้ความพยายามและความปรารถนาอันแรงกล้า มิฉะนั้นเราก็จะกลับมาเป็นสู่นิสัยเดิมที่เคยเป็น (Agile is not a state, it is like liquid that can be changed, and need ambition, otherwise you will go back to the old habit)

--

--