Year Plan & Team Effort Management Example — ตัวอย่างการวางแผนรอบปีและการบริหารทีมของบริษัทหนึ่ง

Suthasinee Lieopairoj
Siam Chamnankit Family
2 min readJul 26, 2021

--

บทความนี้เป็นแค่การอธิบายรูปข้างบนนะคะ

รูปข้างบนเป็นตัวอย่างของการวางแผนงานรายปี และการบริหารทีมงาน บริหารเวลาของทีมพัฒนาซอฟต์แวร์

เป็นตัวอย่างจริงจากที่ทำงานเก่าของพี่หนุ่มเมื่อหลายปีก่อน พอดีพี่หนุ่มหยิบขึ้นมาอธิบายในคลาส

ส่วนตัวคิดว่าน่าสนใจดี อาจจะเป็นแนวทางสำหรับทีมอื่น ๆ ที่มีคนทำงานแนวๆ เดียวกันกับแบบนี้ หรือนำแนวทางไปประยุกต์ใช้เหมาะกับทีมงาน กับทรัพยากรที่ตัวเองมีก็น่าจะดี เลยอยากบันทึกตามความเข้าใจไว้ค่ะ

เริ่มเลยละกัน …

Annual Project Plan

จากรูปด้านบน เป็นแผนรายปี ใน 1 ปี มี 4 ไตรมาส = 12 เดือน

  • เดือนแรกของปี (ม.ค.) มักจะเป็นเดือนของการวางแผน (Planning) สำหรับรอบปี หรือถ้ามองในเฟสการพัฒนาโครงการก็น่าจะเรียกว่าช่วง “PRE-GAME” คือ ประชุม พูดคุย วางแผน เพื่อประเมินสิ่งต่าง ๆ ว่าในรอบปีนี้ เราจะมีโครงการหรือมีชิ้นงานอะไรที่ต้องทำบ้าง และมักจะไม่มี Major release ในช่วงนี้
  • เดือนสุดท้ายของปี (ธ.ค.) มักจะเป็นเดือนของการเก็บกวาด สำหรับรอบปี หรือถ้ามองในเฟสการพัฒนาโครงการก็น่าจะเรียกว่าช่วง “POST-GAME” คือ เป็นการเก็บตกสิ่งที่ยังทำไม่ครบ การเทรนนิ่ง และมักไม่มีการ Deploy เพราะผิดพลาดอะไรมาจะลำบาก และวันหยุดเยอะ คนทำงานมักอยากไปเที่ยวกันแล้ว

ดังนั้น จะเหลือ 10 เดือน ระหว่างกลาง เป็นช่วง “GAME” คือ การพัฒนาระบบถ้ากำหนดให้…

  • 1 Major Release (รอบส่งมอบของใหญ่) มีระยะเวลา 20 วัน ในรอบปีจะมี 10 รอบ
  • 1 Minor Release (รอบส่งมอบของเล็ก ๆ หน่อย) มีระยะเวลา 10 วัน ในรอบปีจะมี 20 รอบ

ในส่วนของ”ทีมทำงาน” มีนักพัฒนาซอฟต์แวร์ + คนคุมงาน รวม 8 คน ซึ่งต้องคอยสนับสนุน 7 หน่วยงานธุรกิจ

ตามตัวอย่างจะแบ่งเป็น 2 ทีม คือ Team A และ Team B และแบ่งเป็นทำงาน Front-End, Back-End และ Testing และมี System Analyst คุมทั้ง 7 คน ตามรูปข้างบนค่ะ

ในส่วน “คิวงาน” จะแยกประเภทงานเป็น 2 Backlog คือ

  • Backlog #1: เป็นงานพัฒนาซอฟต์แวร์ในโครงการ (งานก้าวไปข้างหน้า)
  • Backlog #2: เป็นงานแก้ปัญหาประจำวันและงานขอเปลี่ยน ขอแก้ต่างๆ (งานที่มักไม่ค่อยอยากทำ แต่มันจำเป็น )

AN INCIDENT IS A KING!! ;(
จำเป็นต้องให้ความสำคัญ และมันสามารถเกิดได้ตลอด 24 ชม.

ในส่วน “การบริหารเวลาของทีมใน 1 วันทำงาน”

จะใช้วิธีทำงานแบบ Time-Box Base คือ แบ่งเวลาเป็นกรอบการทำงานแต่ละอย่าง (ไม่งั้น… ทีมอาจง่วนอยู่กับการแก้ปัญหารายวัน และงานโปรเจคอาจจะไม่เดิน หุหุ)

โดยทั่วไปใน 1 วันทำงาน เราส่วนใหญ่มักมีเวลาทำงานปกติ คือ 8 ชั่วโมงต่อวัน

ถ้าไม่เกิด Incident หรือ เหตุการณ์ฉุกเฉินที่จำเป็นต้องเร่งแก้ไขจริงๆ ควรแบ่งให้ 1 วันสามารถทำงาน…

  • งานโครงการ (งานใน Backlog #1 เรียงตามลำดับความสำคัญ) 4–6 ชม.
  • งานแก้ไข incident & งานแก้ไขตามคำร้องขอต่างๆ (งานใน Backlog #2 เรียงตามลำดับความสำคัญ) 1 ชม.
1-Day Time Management

โดยใน 8 ชม.ต่อวัน อาจแบ่งเวลาตามรูปนาฬิกาข้างบนได้ประมาณนี้ค่ะ

  • 09.00–12.00: ทำงานโปรเจค
  • 12.00–13.00: พักเที่ยงกินข้าว
  • 13.00–16.00: ทำงานโปรเจค
  • 16.00–17.00: เผื่อทดเวลา สำหรับงานเลท หรือประชุมเพื่อปรับแผนงาน
  • 17.00–18.00: ทำงาน Incident ต่างๆ
  • 18.00: แยกย้ายกลับบ้าน พักผ่อน

ตามที่เกริ่นข้างต้น อันนี้เป็นการบันทึกจากตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น แต่จะทีม แต่ละองค์กรมีบุคลากร มีลักษณะงาน มีทรัพยากรที่แตกต่างกัน ประยุกต์ตามความเหมาะสมนะคะ…

ขอบคุณฮัฟ

#siamchamnankit #agile #projectmanagement #personaldevelopment #บันทึกจากสังเกต

--

--