เส้นทางสู่ความเป็นเทพ — The Journey of Mastery

Suthasinee Lieopairoj
Siam Chamnankit Family
3 min readAug 23, 2021

--

หัวข้อนี้น่าจะมีคนเขียนกันเยอะพอสมควร ทั้งในไทยและต่างประเทศ แต่แนนขอบันทึกไว้ในแบบตัวเองเข้าใจและอยากจำนะคะ :)

ถ้าพูดถึงเส้นทางในการที่เราทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนเชี่ยวชาญ ในวงการศิลปะการต่อสู้ (Martial Art) ของญี่ปุ่น 3 คำที่คุ้นเคยกันดี คือ คำว่า “SHU-HA-RI”

“SHU-HA-RI” (Kanji: 守破離 Hiragana: しゅはり)

เป็นวิธีคิดในการเรียนรู้เทคนิคใดเทคนิคหนึ่งจนกระทั่งเชี่ยวชาญ หรือ พูดง่ายๆ คือ ฝึกฝน เรียนรู้ จนเป็นเทพแหล่ะค่ะ

ใน SHU-HA-RI ได้อธิบายถึงลำดับขั้นของการเรียนรู้ จากเริ่มต้น (ก็คือไม่รู้เลย) ไปจนถึงกระทั่งเชี่ยวชาญไว้ 3–4 ขั้น (Stages) ตามนี้ค่ะ

ขั้นที่ 1 : SHU (守) = “Follow” แปลว่า ทำตาม, เชื่อฟัง
คือ การเลือกทำตามคำสอนของอาจารย์หรือผู้สอนคนใดคนหนึ่ง โดยจดจ่ออยู่ที่สิ่งที่ทำโดยไม่ต้องไปพะวงมากว่าสิ่งที่เราทำจะถูกต้องตามทฤษฎีใดหรือไม่ หรือถ้าพูดภาษาชาวบ้านก็อาจเรียกได้ว่า “เดินๆ ตามผู้ใหญ่ไปก่อน ยังไงหมาก็คงไม่กัด” ในขั้นนี้ หัวใจสำคัญคือการทำตามครู (Imitate) จนตัวเองสร้างวินัยได้

ขั้นที่ 2: HA (破) = “Adapt” แปลว่า แยกตัว, ปลีกตัว
คือ การเริ่มเสาะหาเส้นทางฝึกฝนมากขึ้น เช่น เรียนรู้วิธีใหม่จากอาจารย์คนอื่นเพิ่มเติม หรือการหาหลักการ (Principle) หรือทฤษฎี (Theory) มาเรียนรู้เพื่อที่จะเข้าใจเทคนิคเบื้องหลังหลักการนั้น ๆ ในขั้นนี้ หัวใจสำคัญคือการเรียนรู้สิ่งใหม่ หรือหลักการใหม่ๆ เพื่อผนวกวิชาเข้ากับวิถีปฏิบัติที่ตัวเองได้ทำอยู่ (Assimilate)

ขั้นที่ 3: RI (離) = “Ignore” แปลว่า ละทิ้ง, เพิกเฉย
คือ การไม่ยึดติดกับทฤษฎีใด ๆ แต่เรียนรู้จากวิถีปฏิบัติ (Practice) ของตัวเองและสร้างเส้นทาง (Approach) ของตัวเองขึ้นมาให้ได้ โดยการปรับสิ่งที่ได้เรียนรู้ให้เข้ากับสถานการณ์ หรือบริบทของตัวเอง ในขั้นนี้พูดง่ายๆ คือ ได้เรียนรู้ ฝึกฝนหลากหลายศาสตร์วิชาจนซึมเข้าเส้นเลือดไปแล้ว จนอาจแยกแยะไม่ออกแล้วว่าสิ่งที่ใช้อยู่มันมาจากหลักการไหน เพราะผสมกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน ในขั้นนี้ หัวใจสำคัญจึงไม่ใช่การฝึก แต่คือการสร้างสิ่งใหม่ (Innovate)

และการฝึกทั้ง 3 ระดับขั้นนี้ จะนำไปสู่ขั้นอุดมคติในท้ายสุด คือ

ขั้นที่ 4: Kokoro (心) = “Heart” , “Mind” แปลว่า หัวใจ
คือ การทำเรื่องพื้นฐานจนเชี่ยวชาญ หรือ ภาษาจอมยุทธ์อาจเรียกได้ว่า “กระบี่อยู่ที่ใจ” :)

จากเอกสาร The Heart of Agile ของ ดร. Alistair Cockburn หนึ่งในผู้คิดค้นแอจไจล์ ระบุไว้ว่า

“Kokoro” คือ หัวใจหลักของความเป็นแอจไจล์ (“Heart of Agile”)

โดยอธิบายแก่นได้ใน 4 คำสั้นๆ คือ

Image Credit : https://heartofagile.com

1. ร่วมมือ (Collaborate)

2. ส่งมอบ (Deliver)

3. สะท้อน (Reflect)

4. พัฒนา (Improve)

ทีนี้ๆ วกมาที่ ขั้น Shu ของคนเขียนบ้าง คือ วิ่งตามครูอยู่เนี่ย ฮ่าๆ

จากคลาส Software Development ของโยดา (ที่คุณก็รู้ว่าใคร) ได้วางระดับขั้นของการฝึกเรื่องการพัฒนาซอฟต์แวร์ในแบบแอจไจล์บนเส้นทางสู่ความเชี่ยวชาญไว้ตามนี้

“Shu” คือ การฝึกฝนขั้นพื้นฐานจนคล่องแคล่ว โดยเรื่องพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ควรเริ่มต้น คือ

  • การทำงานแบบเป็นรอบ — Iterative Development
  • การพัฒนาซอฟต์แวร์แบบค่อยๆ เพิ่มทีละนิด — Incremental Development
  • การวางแผน-ลงมือทำ-ตรวจสอบ-ปรับปรุง — Plan-Do-Check-Act (PDCA)
    การพัฒนาวงรอบแบบนี้บ่อยๆ จะก่อให้เกิดการพัฒนา (Improvement)
Image Credit: https://kanbanize.com/lean-management/improvement/what-is-pdca-cycle
  • การเตรียมเรื่องการทดสอบตั้งแต่เริ่มต้น — Test-First Programming
  • การทำให้เป็นอัตโนมัติตั้งแต่ส่วนการสร้าง ทดสอบ และขึ้นระบบ — Automation Build, Test & Deploy (Continuous Integration)

“Ha” คือ การเริ่มนำเอากรอบการทำงาน (Framework) หรือ วิธีปฏิบัติ (Practice) ต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ เช่น

  • Scrum Framework
  • Extreme Programming (XP)
  • Dynamic System Development Method (DSDM)
  • Lean
  • Kanban

ผนวกเข้ากับวิธีการทำงานเดิม (ในขั้น Shu) ที่ทำอยู่จนเกิดเป็นรูปแบบการทำงานในรูปแบบของตัวเอง

ประเด็นสำคัญ (ที่โยดาย้ำ !!!) คือ

ถ้าพื้นฐานไม่ดี…

อย่าริไปใช้ Frameworks / Practicesใดๆ!! T_T

“Ri” คือ การที่หารูปแบบการทำงานของตัวเองได้และปฏิบัติจนเชี่ยวชาญจนแยกไม่ค่อยออกแล้วว่าวิถีทำตัวเองใช้อยู่นั้นมาจากทฤษฎีไหน เพราะปฏิบัติจนกลายเป็นวัฒนธรรม (Culture) การทำงานไปแล้ว

ว่าแต่พูดถึง Shu Ha Ri ทำไมชื่อมันคุ้นๆ อยู่นะ

อ้อ…โรงฝึกช่างฝีมือ (ซอฟต์แวร์) บริษัทตรูเอง 555

ใครอยากรู้ที่มาเกี่ยวกับโรงเรียนช่างฝีมือการพัฒนาและส่งมอบซอฟต์แวร์แห่งนี้
แวะไปชะแว้บๆ ที่บทความด้านล่างได้นะคะ :)

https://sck.pub/shuhari

#siamchamnankit #agile #เรียนเเล้วต้องเล่า #Projectmanagement #personaldevelopment

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

https://www.scrum.org/resources/blog/shu-ha-ri-professional-coaching

https://martinfowler.com/bliki/ShuHaRi.html

https://siamchamnankit.co.th/shu-ha-ri-the-school-of-software-development-850217e4154c

https://alistair.cockburn.us/wp-content/uploads/2018/02/The-Heart-of-Agile-Technical-Report.pdf

--

--